#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
เรื่อง ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ. (บ่วงเกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว.)
เรื่อง. ราหุลํชาตํพนฺธนํชาตํ. (บ่วงเกิดขึ้นแล้วพันธนาการเกิดขึ้นแล้ว.)
ในพระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติพระนามว่าพระ“ราหุล” พระองค์ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า"ราหุลํชาตํพนฺธนํชาตํ." แปลว่า"ราหุล( แปลว่าบ่วง) บ่วงเกิดขึ้นแล้วพันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" ด้วยเหตุเพราะพระองค์ได้เสด็จไปพบเทวทูตทั้ง๔คือคนแก่คนเจ็บคนตายและสมณะ
ความหมายของการตรัสว่า“บ่วงเกิดขึ้นแล้วพันธนาการเกิดขึ้นแล้ว” เปรียบได้ถึงสิ่งที่เข้ามาร้อยรัดเปรียบเหมือนเป็นพันธนาการด้วยโซ่เหล็กใหญ่ร่ามพันรัดไว้ซึ่งโซ่นี้คือโซ่ทางจิตใจซี่งหมายถึงการจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นอาทิเช่น“ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ไม่ปรารถนาสิ่งใดและต้องพบเจอกับสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์” ดังนั้นความทุกข์วนเวียนอยู่รอบตัวเราและหากมีคำถามว่าใครทำให้เราเป็นทุกข์และหากเรามองให้ดีแล้วจะเห็นว่าตัวเรานั่นแหละที่ทำให้เราเป็นทุกข์ด้วยเพราะเราเอาใจไปผูกติดทุกข์นั้นไว้หรือใช้ความรู้ที่ไม่ถูกต้องเช่นใช้ความอยากซี่งเปรียบเสมือนบ่วงพันธนาการกับใจของเราให้เกิดทุกข์
ขอยกตัวอย่างเรื่องการตั้งชื่อคือสิ่งสมมติเช่นฉันชื่อฉันมีอาชีพสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงข้อตกลงเป็นเรื่องของภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสารเพื่อให้สังคมอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบดังนั้นจึงไม่ควรไปยึดไปถือซึ่งในความเป็นจริงตัวเราเป็นสิ่งสมมติอย่างหนึ่งเท่านั้นเองเราทั้งหลายจึงควรใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งสมมติที่เกิดขึ้นให้มากเพราะจะทำให้โซ่นั้น“เล็กลง” และจะปลดปล่อยพันธนาการได้ในที่สุด
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุได้เคยกล่าวบรรยายไว้ว่า“อย่าแส่เข้าไปหาความทุกข์” เหตุเพราะคนส่วนใหญ่เวลาพบเจอสิ่งที่ชอบก็จะหลงเสน่ห์ของสิ่งนั้นๆเช่นเด็กที่ติดเกมส์ควรใช้ความคิดว่าเราได้ประโยชน์อะไรจากการเล่นเกมส์นี้เช่นอาจได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนการเล่นวางระบบความคิดที่จะเป็นผู้ชนะอย่างเหมาะสมซึ่งอาจนำความคิดที่เป็นระบบมีระเบียบการวางแผนมาประยุกต์ใช้กับการเรียนของตนจะดีเป็นอย่างยิ่งเป็นต้นแต่ในปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่มิได้คิดเช่นนี้แต่กลับเพลินเพลินจนไม่มีเวลาหลับพักผ่อนทำให้การเรียนเสีย
และเมื่อเราไปประกอบอาชีพการงานซึ่งหากมีทัศนคติแบบใช้ผลตอบแทนเรื่องรายได้เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตแล้วเราจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขเราจึงสมควรปรับความคิดของเราให้เป็นบวกเช่นทำเพื่อคนรอบตัวเพื่อนร่วมงานสังคมซึ่งเราจะมีความสุขในจิตใจมากกว่าและบ่วงต่อไปที่ทุกคนต้องพบเจอคือเรื่องของสุขภาพดังนั้นเราจึงควรเข้าใจว่าร่างกายสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาแล้วความเจ็บป่วยทั้งหลายจะไม่เป็นบ่วงที่คอยรัดจิตใจเราต่อไป
และบ่วงสุดท้ายที่ทุกคนพบเจอเหมือนกันคือความตายซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวเช่นความมีฐานะดียังไม่พร้อมจะตายแต่หากเปรียบกับคนที่สู้ชีวิตมามากอดทนต่อความยากลำบากกลับมีความประสงค์จะตายเพราะทุกข์กับการมีชีวิตมาตลอดในที่นี้ความตายมิใช่ทางออกของความทุกข์แต่เป็นเพียง“เหตุ-ปัจจัย” ที่เราต้องต้อนรับมันให้ถูกต้องความตายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกคนต้องพบเจอดังนั้นท่านทั้งหลายจงพึงระลึกถึงความเป็นเช่นนั้นเอง“ตถตา” “อะไรๆก็เป็นเช่นนั้นเอง” เช่นไม่ต้องดีใจเมื่อได้อะไรมาแล้วเราจะไม่ต้องเสียใจเมื่อเสียอะไรไปและเมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วเราจะตัดบ่วงหรือพันธนาการออกจากใจได้โดยบริบูรณ์
เรียบเรียงธรรมเทศนา โดยลลิต มณีธรรม