#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
เรื่อง. ความหมายของคำว่า “บุญ”
เรื่อง. ความหมายของคำว่า“บุญ”
บุญแปลว่าความดีความประพฤติชอบทางกายวาจาใจและในทางตรงข้ามบาปคือสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นบาปที่เกิดขึ้นได้ที่กายวาจาใจเช่นกันอาทิเช่น การนั่งที่เรียบร้อยก็เป็นบุญคำพูดที่ถูกต้องเป็นบุญการคิดดีถูกต้องมีเมตตาช่วยเหลือก็เป็นบุญหรือทางตรงข้ามหากการใช้วาจาไม่ถูกต้องทำร้ายผู้อื่นคือบาปทางวาจาหรือจิตใจคิดร้ายก็เป็นบาปเป็นต้น
การปฏิบัติธรรมมาบำเพ็ญ(แปลว่าทำให้มาก) การบำเพ็ญบุญคือการทำดีให้มากให้เป็นอุปนิสัยแล้วจะนำพาความดีมาสู่ตนในที่สุด
พุทธสุภาษิตกล่าวว่า“กัมมุนาวัตตติโลโก”. “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” (สัตว์หมายถึงมนุษย์) ชีวิตจะเสื่อมเพราะเราทำเองชีวิตจะเจริญก้าวหน้าได้ก็ด้วยการกระทำของเราเองซึ่งหมายถึงกรรมลิขิตคือเราสามารถลิขิตอนาคตตัวเองได้เช่นกำหนดความสำเร็จในการเรียนด้วยการใช้ความมีวิริยะขันติขยันอดทนเพื่อความสำเร็จในการเรียนในอนาคต
กรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฏฏสงสาร(วัฏฏแปลว่าวน) (สงสารแปลว่าการเวียนว่าย)
วัฏฏสงสารคือการเวียนว่ายอยู่ในวังวนซึ่งอาจมีความหมายแบบคนทั่วไปว่าหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดแต่มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าเพราะในทางคำสอนของพระพุทธเจ้าหมายถึงองค์ประกอบของวัฏฏสงสาร๓ประการดังนี้
๑.กิเลสแปลว่าสกปรกเช่นความโลภความโกธรและความหลง
๒.กรรมแปลว่าการกระทำหรือแปลโดยความหมายหมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยกิเลสแต่หากการกระทำนั้นประกอบไปด้วยสติปัญญาเรียกว่า“กิริยา” ( คือการกระทำของพระอรหันต์) การกระทำของมนุษย์ทำได้๓ทางคือทางกายทางวาจาทางจิตใจการกระทำของมนุษย์แยกเป็น๓ประเภทดังนี้คือ
๒.๑การกระทำความชั่วทางกายวาจาจิตใจเช่น“กายกรรมชั่ว” ชอบแกล้งเพื่อนใช้วาจาชั่วคือ“วจีกรรมชั่ว” และความคิดชั่วในจิตใจคือ“มโนกรรมชั่ว”
๒.๒การกระทำความดีทางกายแต่ประกอบด้วยกิเลสหรือประกอบด้วย(อุปาทานแปลว่าความยึดมั่นถือมั่น) ทางกายเรียกว่า“กายกรรมดี” “วจีกรรมดี” “มโนกรรมดี”
๒.๓การกระทำที่อยู่เหนือชั่วเหนือดีคือการกระทำที่ประกอบด้วยสติปัญญา(เรียกว่ากิริยา) “กายกิริยา” “วจีกิริยา” “ นโมกิริยา” คือความคิดบริสุทธิ์สร้างสรรค์
๓.วิบากแปลว่าผลของการกระทำที่เกิดจากอำนาจของกิเลส
เรียบเรียงธรรมเทศนา โดยลลิต มณีธรรม