#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑

ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 04 Sep 2018

วันนพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สุรกาจ สุรธัมโม
สฺพเพ สฺตตา อาหารฏฐิติกา สัตว์ทั้หลายทั้งปวง ย่อมตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร


คำว่าอาหารนี้ถ้าพูดถึงกันโดยทั่วไป ก็ต้องยอมรับว่าเรารู้จักอาหารนี้เป็นอย่างดี มีอาหารคาว หวาน ขนม ผลไม้ เป็นวัตถุบางประเภทที่เรารับประทานหรือดื่มเข้าไปเพื่อบำรุงร่างกาย #ในภาษาธรรมะ สิ่งที่เรียกว่า อาหาร มี ๔ อย่าง


๑.กวฬิงการาหาร คำข้าวที่กินอยู่ คือ อาหารทุกประเภทที่ทำให้ร่างกายนี้ยังคงดำรงอยู่ได้หรือเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตของเรา การรับประทานอาหารจริงๆแล้ว เราควรรับประทานอย่างไร เวลารับประทานอาหารก็ต้องพิจารณาเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้ เราไม่สามารถรับประทานอาหารให้เอร็ดอร่อยได้เลยถ้าเรากินอาหารเพื่ออาหาร ไม่ได้กินเพื่อความเอร็ดอร่อย การที่เรากินอาหารด้วยความเอร็ดอร่อยทำให้เราสะสมความเคยชินเรื่องการกินให้เป็นปัญหาและให้ความสำคัญของคนสมัยนี้ ท่านพุทธทาส เรียกว่า "อารยธรรมน้ำจิ้ม" คือ อาหารโต๊ะจีน ที่เต็มไปด้วยน้ำจิ้ม คือสิ่งที่เพิ่มความเอร็ดอร่อยให้เพิ่มขึ้นในรสชาติอาหารทำให้เราตกไปเป็นทาสของกิเลสได้ง่ายขึ้น เพราะจิตมันจะจดจำรสชาติของอาหารเหล่านี้ ว่าอร่อยไม่อร่อยและก็จะต้องการอาหารที่อร่อยๆมากเพิ่มขึ้นด้วยความอยาก(คือตัณหา)


๒.ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ เปรียบเป็นเวทนา เมื่อมีผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาย่อมมี ผัสสะคือการกระทบกันทาง ตา > รูป > จักขุ > วิญญาณการรับรู้ เป็นเวทนา คือความพอใจ ไม่พอใจ สุข ทุกข์ต่างๆ (ผัสสาหารเกิดขึ้นได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ในชีวิตประจำวันของคนเราจะมีการกระทบตลอดเวลาในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดความรู้สึก เป็นเวทนา เป็นสุขบ้างไม่เป็นสุขบ้าง ถ้าเราไม่สามารถกำหนดรู้เท่าทันสิ่งที่เข้ามากระทบ ดังนั้นเมื่อเกิดผัสสะการรับรู้คือการกระทบเป็นอาหารของเวทนาย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาและเปิดโอกาสให้เป็นความสุขหรือความทุกข์ได้


๓.มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือความนึกคิด ผู้ที่ฝึกการกำหนดรอบรู้แล้วย่อมไม่มีสิ่งใดที่พึงจะทำให้เกิดความคิดเหล่านี้ได้ หากความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เราก็ต้องรับผล ความคิดคือเหตุที่ทำให้เราต้องกระทำอะไรบางอย่างเมื่อเรากระทำสิ่งใดเราก็ต้องรับผลในสิ่งนั้นด้วยความอยาก คือ ตัณหา แยกเป็น กามตัณหาคือความอยากในเรื่องของกาม ภวตัณหาความอยากมีอยากเป็น และวิภวตัณหาความไม่อยากมีไม่อยากเป็น เมื่อความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นคนเรามักจะชอบความสุขและรังเกียจความทุกข์ เรายิ่งรักสิ่งใดที่ตรงกันข้ามมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเรายังมีความชอบและไม่ชอบมากเท่าไหร่จึงทำให้เรายังมีความคิดเป็นอาหาร


๔.วิญญาณาหาร คือการรับรู้ต่างๆ ๖ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผู้ที่กำหนดรอบรู้เรื่องวิญญาณาหาร ย่อมกำหนดรู้ นาม~รูป นาม คือ จิต รูป คือ กาย กายกับจิตนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ กายกับจิตไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา จะเกิดขึ้นต่อเมื่ออวิชชา(ความไม่รู้)ปรุงแต่งเข้าใจผิดไปในความเป็นจริง แล้วปรุ่งแต่งไปเป็นสังขาร(ความคิด) > วิญญาณ > นาม > รูป จึงเกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจในปฏิจสมุปบาทแล้วเราจะเข้าใจว่า นาม ~ รูป คือ กาย ~ใจ ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา แต่เกิดขึ้นเป็นขณะๆตามความเข้าใจผิดของเรา เมื่อเราเข้าใจผิดด้วยความหนักแน่น กาย~ จิต ของเรานี้ก็จะปรากฎบ่อยๆเป็นความยึดมั่นถือมั่นตามความรับรู้ของจิต ท่านฮวงโป ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อความคิดเกิดขึ้นสิ่งต่างๆย่อมเกิดขึ้น เมื่อความคิดดับหายไป สิ่งต่างๆย่อมหายไป ถ้าเราเข้าใจชัดก็จะเห็นว่า กาย ~ จิต นี้ไม่มีอยู่จริง อาหารใน ๔ ประเภทนี้มีความลึกซึ้งมาก หากเราได้มีโอกาสได้พัฒนาจิตอย่างถูกต้องเราจะสามารถเข้าใจได้ว่าการรับประทานอาหารเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้ด้วยการมีสตินั้นสำคัญอย่างไร


การกำหนดรอบรู้สิ่งเหล่านี้ด้วยการมีสติอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาสมาธิย่อมเกิดขึ้นและเป็นปัญญาความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้อย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการฟังหรือการจำเท่านั้น แต่เราต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปสังเกตุการทำงานการปรุงแต่งของจิต เราจะเห็นพัฒนาการการเกิดขึ้นการเปลี่ยนไปและการดับลงของจิต หรือกระทั้งสังเกตการปรุงแต่งของจิต เดิมจิตนั้นบริสุทธิ์อยู่ก่อนแต่มีกิเลสเป็นอาคันตุกะจรเข้ามา เราต้องเริ่มสังเกตจากตรงนี้ก่อนเราจึงทำความเข้าใจได้ว่ากิเลสเข้ามาปรุงแต่งเป็นอย่างไร เมื่อเราสังเกตให้เห็นสิ่งเหล่านี้เราก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เรียกว่า จิต ~ กาย ที่เรียกว่าตัวเรานี้เป็นมายา มันมีอยู่นะแต่มันไม่จริง เมื่อมีอยู่อย่างไม่จริงเราจะไปเอาอะไรกะมัน เมื่อเราไม่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจเป็นเหตุให้เรายึดถือเป็นทุกข์ ร้องไห้ฟุ้งซ่าน แต่ถ้าเราทำความเข้าใจในเรื่องนี้จิตมันจะค่อยๆคลายลงไปเอง


สรุป อาหารเราควรจะเกี่ยวข้องกับอาหารได้อย่างไร รับประทานอาหารเพียงเพื่อการตั้งอยู่ได้ของชีวิตไม่ใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย ในเรื่องของผัสสะ~กระทบ เรามีสติในการรู้สึกตัวได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ามีสติรู้สึกตัวไม่ปล่อยให้ความรู้สึกพอใจไม่พอใจ ในความสุขความทุกข์ได้เรียกว่าเราเข้าใจใน ผัสสาหารได้ ถ้าเรามีสติกำหนดรู้ทันความคิดปรุงแต่งของจิตได้ไม่ให้ปรุงแต่งเวลามีการรับรู้ได้ คือการกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เมื่อเรามีสติปัญญากำหนดติดตามให้เห็นว่ามีการรับรู้ปรุงแต่งได้ว่าเป็นจิต เป็นกาย ปรุงแต่งว่ามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปรุงต่อไปเป็นเวทนาเกิดการกระทบปรุงไปเรื่อยๆ สุดท้ายความทุกข์ความสุขมันก็เกิดขึ้นได้

No comments yet...

Leave your comment

22609

Character Limit 400